การจัดการความรู้
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565
วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563
แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบริหารการจัดการการบริการการศึกษาด้วยวิธีการลีน
แนวปฏิบัติที่ดี
เรื่อง การบริหารการจัดการการบริการการศึกษาด้วยวิธีการลีน
:
การกำกับ ติดตาม
การดำเนินงานวิทยานิพนธ์
ให้เป็นไปตามแผนการศึกษา
ของหลักสูตร
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
บัณฑิตวิทยาลัยมีฐานะเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา
ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมว่าด้วยบัณฑิตวิทยาลัย มีหน้าที่ประสาน
ส่งเสริม กำกับ ติดตาม ควบคุมดูแลการบริหารจัดการการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ให้เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด ผ่านการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง
ๆ ที่พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา รวมทั้ง
การจัดทำวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของนักศึกษาอีกทางหนึ่ง
โดยการจัดทำวิทยานิพนธ์อย่างมีคุณภาพนั้น
ต้องอาศัยปัจจัยที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้และเข้าใจถึงการจัดทำ เริ่มตั้งแต่การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีความสนใจภายใต้กรอบการเรียนการสอนของหลักสูตรนั้น
ๆ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการสอบป้องกันวิชานิพนธ์
การที่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาโดยจะใช้เวลาในการศึกษามากจนเกือบพ้นสภาพ
ความเป็นนักศึกษา ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษา 2556 ทำให้นักศึกษาเสียเวลาในการศึกษา และเสียงบประมาณในการรักษาสถานภาพ
ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเอง อีกทั้งทำให้ หลักสูตร และบัณฑิตวิทยาลัยมีผลการดำเนินงานด้านการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
ดังนั้น บัณฑิตวิทยาลัยจึงจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบริหารการจัดการการบริการการศึกษาด้วยวิธีการลีน โดยนำหลักการบริหารจัดการด้วยวิธีการลีน (Lean management) ประยุกต์ใช้ พัฒนาเครื่องมือการติดตามการดำเนินงานที่จะช่วย ลดเวลาในการปฏิบัติงาน สามารถปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหัวข้อที่นำเสนอในแนวปฏิบัตินี้ ได้แก่หัวข้อ การกำกับ ติดตามการดำเนินงานวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามแผนการศึกษา ของหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีรายละเอียดดังนี้ (More)
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562
โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งระบบอักขราวิสุทธิ์ คือ ระบบให้บริการตรวจสอบ
ความคล้ายคลึงกัน ระหว่างเอกสารที่ยื่นตรวจสอบ กับเอกสารในฐานข้อมูลของระบบฯ โดยให้ผลลัพธ์เป็นรายงานผลการตรวจสอบที่แสดงค่าเปอร์เซนต์ความคล้ายคลึงกันและรายละเอียดอื่นๆ โปรแกรมตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism Detection Software) เป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการเพื่อป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรม และให้ผู้ใช้ตระหนักถึงการนาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาใช้โดยคานึงถึงการอ้างอิง และลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญาของงานนั้นๆ
วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560
คู่มือการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมของภาคนิพนธ์และวิทยานิพนธ์
บทความเรื่อง รูปแบบ และหลักเกณ์ การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม (more)