วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

การจัดการความรู้ (KM) ด้านการจัดการเรียนการสอน

เรื่อง การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  

การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 2
               บัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาบุคลากรของบัณฑิตวิทยาลัยให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นสิ่งสำคัญของการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ บัณฑิตวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของคณาจารย์ด้านการเรียนการสอน เรื่อง การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วัตถุประสงค์
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  • สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อนำไปเผยแพร่แก่คณาจารย์และบุคลากรของบัณฑิตวิทยาลัย


 กระบวนการจัดการความรู้ เรื่อง การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

คู่มือการเสริมสร้างทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21





การจัดการความรู้ (KM) ด้านการปฏิบัติงาน (สายสนับสนุน)

เรื่อง กระบวนการทำวิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา

           บัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาบุคลากรของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้วยการจัดการความรู้ จึงเป็นสิ่งสำคัญของการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ บัณฑิตวิทยาลัยตระหนังถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร ในการบริหารจัดการด้วยการจัดการความรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน เรื่อง กระบวนการทำวิทยานิพนธ์ และภาคนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษาขึ้น


วัตถุประสงค์


  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการระดับบัณฑิตศึกษาด้วยการจัดการความรู้
  • เพื่อสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการระดับบัณฑิตศึกษาด้วยการจัดการความรู้ ด้านกระบวนการทวิทยานิพนธ์ และภาคนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา


สรุปองค์ความรู้ เรื่อง กระบวนการทำวิทยานิพนธ์ และภาคนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา



วีดีโอคลิปแสดงขั้นตอนการให้คำแนะนำกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ และภาคนิพนธ์ แก่นักศึกษา


การจัดการความรู้ (KM) ด้านการวิจัย

เรื่อง การเขียนบทคัดย่อให้มีประสิทธิภาพ

             การเขียนบทคัดย่องานวิจัยมีว้ตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของบัณฑิตวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาบุคลากรของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้วยการจัดการความรู้ จึงเป็นสิ่งสำคัญของการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ บัณฑิตวิทยาลัยตระหนังถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ด้านการวิจัย เรื่อง การเขียนบทคัดย่อให้มีประสิทธิภาพ


วัตถุประสงค์


  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการเขียนบทคัดย่อ
  • เพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนบทคัดย่อให้มีประสิทธิภาพ
  • เพื่อจัดทำแนวทางการเขียนบทคัดย่อให้มีประสิทธิภาพ


แนวทางการเขียนบทคัดย่อให้มีประสิทธิภาพ

            การเขียนบทคัดย่อภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ต้องมีเนื่อหา 4 ย่อหน้าดังนี้
  • ย่อหน้าที่ 1 ระบุถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)
  • ย่อหน้าที่ 2 อธิบายวิธีการวิจัย (Research Method) ซึ่งควรครอบคลุมแบบแผนการวิจัยกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • ย่อหน้าที่ 3 ระบุผลการวิจัย (Findings) ที่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การวิจัยและมีรายละเอียดในส่วนที่เป็นข้อค้นพบที่สำคัญ 
  • ย่อหน้าที่ 4 สรุปข้อค้นพบจากการวิจัย และข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ [Conclusion and Recommendation (if any)

          ตัวอย่างแบบฟอร์มการพิมพ์บทคัดย่อ