วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563

แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบริหารการจัดการการบริการการศึกษาด้วยวิธีการลีน

แนวปฏิบัติที่ดี

เรื่อง การบริหารการจัดการการบริการการศึกษาด้วยวิธีการลีน :

การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานวิทยานิพนธ์

ให้เป็นไปตามแผนการศึกษา ของหลักสูตร

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

 

          บัณฑิตวิทยาลัยมีฐานะเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมว่าด้วยบัณฑิตวิทยาลัย มีหน้าที่ประสาน ส่งเสริม กำกับ ติดตาม ควบคุมดูแลการบริหารจัดการการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด ผ่านการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา รวมทั้ง การจัดทำวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของนักศึกษาอีกทางหนึ่ง โดยการจัดทำวิทยานิพนธ์อย่างมีคุณภาพนั้น ต้องอาศัยปัจจัยที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้และเข้าใจถึงการจัดทำ เริ่มตั้งแต่การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีความสนใจภายใต้กรอบการเรียนการสอนของหลักสูตรนั้น ๆ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการสอบป้องกันวิชานิพนธ์

การที่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาโดยจะใช้เวลาในการศึกษามากจนเกือบพ้นสภาพ
ความเป็นนักศึกษา ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษา 2556 ทำให้นักศึกษาเสียเวลาในการศึกษา และเสียงบประมาณในการรักษาสถานภาพ ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเอง อีกทั้งทำให้ หลักสูตร และบัณฑิตวิทยาลัยมีผลการดำเนินงานด้านการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  

ดังนั้น บัณฑิตวิทยาลัยจึงจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบริหารการจัดการการบริการการศึกษาด้วยวิธีการลีน โดยนำหลักการบริหารจัดการด้วยวิธีการลีน (Lean management) ประยุกต์ใช้ พัฒนาเครื่องมือการติดตามการดำเนินงานที่จะช่วย ลดเวลาในการปฏิบัติงาน สามารถปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหัวข้อที่นำเสนอในแนวปฏิบัตินี้ ได้แก่หัวข้อ การกำกับ ติดตามการดำเนินงานวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามแผนการศึกษา ของหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีรายละเอียดดังนี้ (More)


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562




คู่มือการใช้งานระบบอักขราวิสุทธิ์

            มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการใช้
โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งระบบอักขราวิสุทธิ์ คือ ระบบให้บริการตรวจสอบ
ความคล้ายคลึงกัน ระหว่างเอกสารที่ยื่นตรวจสอบ กับเอกสารในฐานข้อมูลของระบบฯ โดยให้ผลลัพธ์เป็นรายงานผลการตรวจสอบที่แสดงค่าเปอร์เซนต์ความคล้ายคลึงกันและรายละเอียดอื่นๆ โปรแกรมตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรม (
Plagiarism Detection Software) เป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการเพื่อป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรม และให้ผู้ใช้ตระหนักถึงการนาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาใช้โดยคานึงถึงการอ้างอิง และลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญาของงานนั้นๆ

คุณสมบัติของโปรแกรม 
1. ตรวจสอบได้ทั้งข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
2. ตรวจกับฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์จากบัณฑิตวิทยาลัย บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการของ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทความในเว็บไซต์วิกีพีเดียภาษาไทย วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยที่รวมลงนาม 
3. รองรับไฟล์เอกสาร Microsoft Word และ PDF 
4. ใช้เวลาตรวจสอบเฉลยประมาณ 5 นาที (ระยะเวลาที่ต้องรอเมื่อใช้งานจริงขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้ที่กาลังตรวจสอบ) 
5. ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลายคลึงที่ได้จากระบบอักขราวิสุทธิ์มีไว้สาหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ใช้งาน อาจารย์ที่ปรึกษาควรตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง โดยกระบวนการทางานของระบบ
อักขราวิสุทธิ์ สรุปง่ายๆ ดังภาพที่ 1 (ไพโรจน์ ลีลาภัทรกิจ : ออนไลน์) 


บทความเรื่อง คู่มือการใช้งานระบบอักขราวิสุทธิ์ (more)







วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

คู่มือการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมของภาคนิพนธ์และวิทยานิพนธ์



คู่มือการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมของภาคนิพนธ์และวิทยานิพนธ์
ระดับบัณฑิตศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

การอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition
(American Psychological Association, 6th Edition)
ความหมาย
           การอ้างอิงเอกสาร (In text citations) หมายถึง ข้อความที่เขียน หรือพิมพ์ ไว้ในเนื้อหาหรือแทรกปนไปกับเนื้อหา ข้อความยืนยันและแสดงหลักฐานการค้นคว้า และข้อความระบุที่มาของความรู้ที่ใช้ในงานวิจัย รายงาน
           บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง เอกสารที่นามาอ้างอิงในการค้นคว้าวิจัย ภาคนิพนธ์ หรือรายงาน เอกสารที่นามาอ้างอิงได้แก่ หนังสือ วารสาร เอกสาร และสิ่งพิมพ์ต่างๆ และการนำรายการเอกสารมาจัดเรียงตามลาดับอักษรชื่อผู้แต่ง (ภาษาไทย) หรือนามสกุลผู้แต่ง (ภาษาอังกฤษ) และเขียนรายละเอียด
อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล

ที่มา
      การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) พัฒนามาจากนักสังคมศาสตร์และนักพฤติกรรมศาสตร์มากว่า 80 ปี เพื่อเป็นมาตรฐานในการเขียนอย่างเป็นระบบสำหรับภาคนิพนธ์ การทาวิจัย รายงานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม บทความและกรณีศึกษา สำหรับนักเขียนและนักศึกษาซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และจิตวิทยา กฎเกณฑ์การอ้างอิงนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนที่เป็นรูปแบบเดียวกัน เช่น การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและคาย่อ โครงสร้างตาราง การลงรายการอ้างอิง และการนาเสนอสถิติ

      สำหรับ APA 6th edition มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยเพื่อรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยได้เพิ่มแนวทางในการลงรายการอ้างอิงสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ข้อมูลเสริม และการอ้างอิงจากเว็บไซต์ โดยในบางส่วนได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนามาใช้ในการอ้างอิงเอกสารภาษาไทย ซึ่งอาจมีลักษณะและข้อมูลบางอย่างแตกต่างจากเอกสารในภาษาอังกฤษ  (more)


บทความเรื่อง รูปแบบ และหลักเกณ์ การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม (more)